วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สบู่ก้อนสบู่สมุนไพร

การผลิตสบู่ก้อน


การผลิตสบู่ก้อน สบู่ก้อนนั้นมีองค์ประกอบหลักๆ เพียง 2 อย่างเท่านั้น คือ น้ำมัน น้ำด่าง คุณสมบัติของสบู่เพื่อขจัดคราบเหงือไคล ทำความสะอาดผิวหนัง ซึ่งมีฤทธิ์กรดอ่อน ๆ คุณภาพ ของสบู่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของน้ำมัน (น้ำมันจากพืชหรือน้ำมันจากสัตว์) ขึ้นอยู่กับน้ำด่าง (น้ำด่าง ธรรมชาติ เช่น น้ำขี้เถ้า น้ำด่างสังเคราะห์ เช่น โซดาไฟล์ ) คุณภาพของฟองสบู่ และกลิ่น ขึ้นอยู่กับที่มาและส่วนผสมของน้ำมันและน้ำด่าง

วิธีการง่าๆ กับการทำสบู่

ส่วนประกอบและปริมาณ

1. น้ำมันปาล์ม 70%
2. โซดาไฟล์ 10%
3. น้ำสะอาด 20%

วิธีทำ

1. นำโซดาไฟล์ (ซึ่งเป็นด่างอย่างแรก อันตรายต้องใช้อย่างระมัดระวัง ภาชนะที่ใส่ ต้องเป็นแก้ว หรือสแตนเลนส์) ค่อยๆ ผสมลงในน้ำสะอาด คนเบาๆ (โซดาไฟล์ เมื่อผสมน้ำ จะเกิดความร้อนขึ้นทันที ยังคงอันตรายมาก) ค่อยๆ คนจนความร้อนลดลงเหลือ 40 องศา (เอาเทอร์โมมิเตอร์มาวัดอุณหภูม )
2. เอาน้ำมันปาล์มมาทำให้ร้อนโดยการนึ่ง ให้อุณหภูมิอยู่ที่ 40 องศา
3. เอาน้ำโซดาไฟล์ค่อยๆ เทผสมลงในน้ำมัน (ทั้งน้ำโซดาไฟล์และ น้ำมันต้องมีความร้อน เท่ากับ 40 องศา) คนเบาๆ ช้าๆ เริ่มมีความเหนียวหนืด
4. เทสบู่ที่ได้ลงในแม่พิมพ์ ตั้งไว้ประมาณ 2 อาทิตย์ ก็จะได้สบู่ก้อนาตามความต้องการ คุณสมบัติของน้ำมันแต่ละชนิด มีผลต่อการเกิดฟองและกลิ่นของสบู่ทดลองเอาน้ำมันปาล์ม 50% น้ำมันมะพร้าว 20%ฟองสบู่และกลิ่น จะแตกต่างกับการทำสบู่จากน้ำมันปาล์ม เพียงอย่างเดียว ถ้าลองเอาน้ำมันพืชหลากหลายชนิดที่ว่า มาผสมกันส่วนผสมหรือเปอร์เซ็นต์ ในการผสมน้ำมัน จะมีผลต่อเนื้อสบู่ ฟองสบู่ และกลิ่นสบู่

การทำสบู่สมุนไพรแบบง่ายๆ ส่วนผสม

1. น้ำมันปาล์ม 50%
2. น้ำมันมะพร้าว 20%
3. โซดาไฟล์ 10%
4. น้ำสะอาด 15%
5. น้ำสมุนไพรเข้มข้น 5%

วิธีทำ

1. นำน้ำมันปาล์มกับน้ำมันมะพร้าวผสมให้เข้ากันและนำไปนึ่งให้ได้ความร้อนที่ 40 องศา
2. เอาโซดาไฟล์ผสมกับน้ำ ปรับความร้อนให้ได้ที่ 40 องศา
3. นำน้ำโซดาลงในน้ำมันค่อยๆ คนช้าๆ จากของเหลวเริ่มจะหนืด
4. นำน้ำสมุนไพรค่อยๆ เติมและคนช้าๆ จนเกิดเป็นสบู่ จนเริ่มมีความหนืดอีกครั้ง เทใส่แม่พิมพ์ตั้งไว้นาน 2 อาทิตย์ แกะออกจากพิมพ์

สมุนไพรที่จะมาทำเป็นส่วนผสมของสบู่นั้น แบ่งออก 4 หมวดใหญ่ ๆ

1. สมุนไพรประเภทรักษาเชื้อรา แก้ผดผื่นคัน อักเสบ สมานแผล ได้แก่ เปลือกมังคุด ใบทองพันชั่ง ใบชุมเห็ด บัวบก
2. สมุนไพร ประเภท ดับกลิ่นตัว ถ่านไฟ ตะไคร้ ตะไคร้หอม หัวเปราะหอม สาระแหน่ กระเพรา ฯ
3. สมุนไพร ประเภท ทำให้ผิวขาว กัดฝ้า ประเภทที่มีรสเปรี้ยวหรือส้มเกือบทุกชนิด หรือแครอท
4. สมุนไพร ประเภท บำรุงผิว ขมิ้น ลูกตาลสด ประแตงทุกชนิด มะเขือเทศ น้ำผึ้ง นม ฯ คนที่จะนำเอาสมุนไพรหลายๆ ชนิดมาผสมเป็นสมุนไพรผสมทำสบู่นั้นต้องดูด้วยว่าสมุนไพรอะไร จะไปฆ่าฤทธิ์สมุนไพรอื่นหรือไม่ หรือผสมกันแล้วเกิดการแยกตัวหรือผสมทำเป็นสบู่แล้วไป ทำลาย ความเป็นด่างของสบู่ ค่อยๆ คิดค่อยๆ ทำ ทดลองแต่เล็ก ๆ น้อย ไปก่อนจนเกิดความชำนาญ ไม่มีอะไรเป็นสูตรตายตัว ไม่มีอะไรเกิดความตั้งใจของเราได้ ทำอย่างมีเป้าหมาย กำหนดเส้นชัย แล้วไปให้ถึง คนผลิตสบู่สมุนไพรเปลือกมังคุด เริ่มแรก สนธยา ชำนะ ก็ใช้วิธีผสมสบู่แบบกวนมือ คือเอาน้ำมันผสมน้ำด่าง เติมน้ำ สมุนไพรเปลือกมังคุดลงไป ตั้งทิ้งไว้จนแห้ง แล้วมาบดอีกครั้งอัดเป็นแท่ง แล้วปั้มรูปขึ้นก้อน การผลิตแบบนี้ กว่าจะได้สบู่มาจำหน่ายช้ามาก เปลี่ยนวิธีใหม่ ทำสบู่ขึ้นมาก่อน แล้วมาผสมน้ำสบู่สมุนไพรทีหลังอัดเป็นแท่ง แล้วปั้มขึ้นรูป แบบนี้ก็ยังช้า ต้องมีเครื่องอุปกรณ์ การทำหลายชิ้น ปริมาณทำแต่ละครั้งปริมาณน้อย ไม่ทันต่อตลาด ที่ขยายตัวขึ้น เปลี่ยนวิธีใหม่ เอาสูตรน้ำมันและสูตรส่วนผสมการทำสบู่ ไปจ้างโรงงานผลิตสบู่โดยเฉพาะ ทำเป็นไขสบู่ ขึ้นมาก่อน ควบคุมความชื้นให้พอเหมาะ แล้วนำมาพรมน้ำสมุนไพรเปลือกมังคุด อัดเป็นแท่ง แล้วปั้มขึ้นรูป

สูตรสมุนไพรสบู่เปลือกมังคุด

1. เปลือกมังคุดตากแห้ง (ต้องเป็นเปลือกมังคุดที่ลูกสุกดำทำให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ตากแดดหรือ อบจนแห้งสนิท) ช่วยสมานแผล ลดการอักเสบ 40%
2.ใบชุมเห็ดแห้งแก้กลากเกลื้อน เชื้อรา 10%
3. เสลดพังพอนแห้ง แก้ผลผื่นคัน 10%
4. ทองพันชั่งแห้ง แก้เชื้อรา 10%
5.ขมิ้นอ้อย แห้ง ช่วยบำรุงผิว 10%
6. หัวเปราะแห้ง ช่วยบำรุงผิว กลิ่นหอม 10%
7. ว่านสาวหลา ทำให้กลิ่นหอม 5%
8. สมุนไพรอื่นๆ ที่มีสรรพคุณสมานแผลรวม 10% หมายเหตุ สมุนไพรทั้งหมดต้องแห้ง และเป็นชิ้นเล็กๆ

วิธีทำ

นำสมุนไพรทั้งหมดมาเติมโดยน้ำหนักสมุนไพร / น้ำอัตราส่วน 1/10 ต้องจดคือเคียว ให้เหลือ น้ำยาครึ่งหนึ่งกรองเอากากออก เอาน้ำยาที่ได้ไปใช้ประโยชน์ต่อไป สูตรสบู่ สมุนไพร หน้าขาว ทำให้ฝ้า จุดด่างดำ จางลง

สูตรที่ 1

1. เนื้อมะขามเปียก 50%
2.เปลือกมังคุด 5%
3.หัวเปราะ 15% 4.ขมิ้น 10% 5.ว่านสาวหลา 10% 6. น้ำผึ้ง 10%

วิธีทำ

นำสมุนไพร 1 - 5 มาต้มอัตราส่วน 2 / 10 เคี่ยวเอาน้ำยาครึ่งหนึ่ง กรองเอากากออก เอาน้ำยาไปใช้ประโยชน์ต่อไป

สูตรที่ 2

น้ำส้มแขก ( สับสันดาน ,เล็บควาย ) มาแทนมะขามเปลือก

วิธีทำ

น้ำยาสมุนไพรก็เหมือนกับสูตรที่ 1 สูตรสบู่สมุนไพรทั้ง 2 สูตรนี้ สามารถนำมาผสม กับแป้งดินสอพอง ทำเป็นผงพอกหน้า ทำให้หน้าขาว แก้ฝ้าได้ดีหนักแล

สูตรสบู่สมุนไพรบำรุงผิว

1. นำหัวขมิ้นสดมาหั่นบางๆ ตากแดดให้แห้งสนิท แล้วนำไปบดเป็นผง
2. นำขมิ้นมา 10 กรัม ( 1 ก.ก. มี 1,000 กรัม ) ละลายน้ำ 900 cc
3. นำผงขมิ้น 10 กรัม ผสมกับไขสบู่ 3 ก.ก. แล้วค่อยๆ เติมน้ำขมิ้น
4. พรมไขสบู่กับน้ำขมิ้นและผง

สบู่ก้อนพื้นฐาน

สูตรสบู่ก้อนพื้นฐาน

สูตรที่ 1 เป็นสบู่แข็ง สีขาว มีฟองมาก

น้ำมันมะพร้าว 200 กรัม
น้ำมันปาล์ม 200 กรัม
โซเดียมไฮดรอกไซด์ 60 กรัม
น้ำ 150 กรัม
ขั้นตอนการทำสบู่ก้อนพื้นฐาน

เตรียมพิมพ์ที่จะใช้ทำ
นำเอาส่วนของน้ำมันมารวมกัน อุ่นให้ได้อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส
นำเอาด่างมาละลายน้ำ โดยค่อย ๆ เทด่างลงในน้ำพร้ดมทั้งคนตลอดเวลา ขั้นตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะจะเกิดความร้อนสูง
รอจนน้ำด่างมีอุณหภูมิลดลงจนถึง 40 องศาเซลเซียส ค่อย ๆ เทลงในน้ำมัน
ค่อย ๆ คนจนเข้ากันดี เทลงพิมพ์
พักสบู่ไว้
สูตรที่ 2 เป็นสบู่ก้อนแบบใส (กลีเซอรีน)

กลีเซอรีน 500 กรัม
น้ำ 50 กรัม
ผงสมุนไพร 0.5-1.0 กรัม
น้ำหอม 2.5 มิลลิลิตร
แอลกอฮอล์ (ใช้ละลายน้ำหอม) 5 มิลลิลิตร
สี 5 มิลลิลิตร
ขั้นตอนการทำสบู่ใส

เตรียมพิมพ์ที่จะใช้ทำ
นำเอากลีเซอรีนมาหลอมด้วยความร้อน เติมน้ำ คนจนละลายเข้ากันหมด
ยกลงจากเตา คนช้า ๆ แต่งสี และกลิ่นตามต้องการ
ค่อย ๆ คนจนเข้ากันดี เทลงพิมพ์ รอจนสบู่แข็งตัว แกะออกจากพิมพ์

สบู่สมุนไพร

ลองนำ สบู่ก้อนธรรมชาติ สบู่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของไขมัน ด่าง และน้ำที่อุณหภูมิพอเหมาะ ผู้ผลิตต้องศึกษาคุณสมบัติของส่วนประกอบแต่ละชนิดก่อนเริ่มตั้งสูตร และลงมือผลิต นอกจากนี้ ผู้ผลิตยังสามารถเติมส่วนผสมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มคุณภาพของสบู่ เช่น น้ำนมแพะ น้ำนมวัว หรือสมุนไพร เป็นต้น



ส่วนประกอบหลัก

1. ไขมันหรือน้ำมัน ไขมันหรือน้ำมัน ทั้งจากสัตว์และจากพืชหลากหลายชนิด สามารถนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตสบู่ได้ กรดไขมันนี้จะรวมตัวกับสารอื่น อยู่ในรูปของกลีเซอไรด์ เมื่อนำด่างเข้ามาผสมและทำปฏิกิริยากับกรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ มารวมตัวกันเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะออกมาเป็นกลีเซอรีน น้ำมันแต่ละชนิดก็จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกันออกไป กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก (lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น ดังนั้นจึงควรศึกษาคุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากไขมันต่างชนิดกัน ดังนี้ ตาราง คุณสมบัติ – อายุการใช้งานของน้ำมันแต่ละชนิด ชื่อน้ำมัน คุณสมบัติ อายุการใช้งาน น้ำมันมะกอก สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวล มีคุณค่าในการบำรุงผิวมาก มากกว่าสามเดือน น้ำมันงา สบู่ที่ได้จะนิ่ม มีค่าการชำระล้างปากกลาง แต่มีวิตามินอีสูงมาก แต่อาจมีกลิ่นที่บางคนไม่ชอบ มากกว่าสามเดือน น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ได้จะมีก้อนแข็ง มีฟองครีมนุ่มนวลจำนวนมาก แต่ไม่ควรใช้เกิน 30% เพราะมีค่าการชำระล้างสูง อาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าสามเดือน น้ำมันรำข้าว สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก เหมาะสำหรับบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน น้ำมันถั่วเหลือง สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง แต่มีวิตามินอีมาก มีคุณสมบัติช่วยให้ผิวยืดหยุ่นได้ดี เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันเมล็ดทานตะวัน สบู่ที่ได้จะนิ่ม ค่าการชำระล้างปานกลาง มีวิตามินอีมาก เป็นน้ำมันอายุสั้น ทำสบู่แล้วควรใช้ให้หมดภายในสามเดือน น้ำมันปาล์ม สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง ควรใช้ไม่เกิน 30% เพราะอาจทำให้ผิวแห้ง มากกว่าหกเดือน ไขมันวัว สบู่ที่ได้จะเป็นก้อนแข็ง มีฟองปานกลาง ค่าการชำระล้างสูง เหมาะสำหรับผสมทำสบู่สำหรับซักล้าง มากกว่าหกเดือน ไขมันหมู สบู่ที่ได้จะมีสีขาวและนิ่ม มีฟองน้อย ค่าการชำระล้างปานกลาง มีคุณสมบัติในการบำรุงผิว มากกว่าสามเดือน



2. ด่าง ชนิดของด่างที่ใช้ มี 2 ชนิด - โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ (Sodium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่ก้อน - โปแตสเซียม ไฮดรอกไซด์ (Potassium hydroxide) ใช้สำหรับทำสบู่เหลว จากตาราง แสดงปริมาณด่างที่ใช้ต่อไขมัน 100 กรัม ภายหลังทำปฏิกิริยาจะมีไขมันเหลือประมาณร้อยละ 5 - 8 อย่างไรก็ดี อาจมีความผิดพลาดเนื่องจากการใช้มาตราชั่ง ตวง วัด และปัจจัยการผลิตอื่น ๆ หรือวิธีการผลิตอื่น ที่ทำให้ปริมาณด่างเหลือมากกว่าที่คำนวณไว้ จึงจำเป็นต้องควบคุมคุณภาพ โดยการวัด pH ทุกครั้งที่ผลิตและหลังจากสบู่แข็งตัวแล้ว ตาราง ปริมาณด่างที่ทำปฏิกิริยากับไขมัน จำนวน 100 กรัม สบู่ที่ได้มีไขมันประมาณ 5 – 8 % ที่ ชื่อน้ำมัน โซดาไฟ (กรัม) โปตัสเซียม ไฮดรอกไซด์ (กรัม) 1 ปาล์ม 13.06 18.32 2 มะพร้าว 16.92 23.74 3 ละหุ่ง 11.83 16.59 4 มะกอก 12.46 17.48 5 งา 12.66 17.76 6 ถั่วเหลือง 12.46 17.48 7 รำข้าว 12.33 17.30 8 เมล็ดทานตะวัน 12.56 17.62 9 ขี้ผึ้ง 6.17 10 ไขมันวัว 12.92 18.12 11 ไขมันหมู 12.76 17.90 12 ไขมันแพะ 12.72 17.85



3. น้ำ น้ำที่ใช้ทำสบู่ได้ต้องเป็นน้ำอ่อน ถ้าเป็นนำกระด้างจะทำให้สบู่ไม่เกิดฟอง น้ำที่เหมาะในการทำสบู่มากที่สุดคือน้ำฝน ปริมาณน้ำที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะหากใช้น้ำมากต้องทิ้งไว้หลายวัน สบู่จึงจะแข็งตัว น้ำน้อยเกินไปอาจทำให้ปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ หากใช้ไขมันแต่ละชนิดรวมกันแล้ว 100 กรัม ควรให้น้ำประมาณ 35-38 เปอร์เซ็นต์ หรือเพิ่มตามสัดส่วน



4. ส่วนผสมเพิ่มเติมในสบู่ - บอแร็กซ์ ...สารบอแร็กซ์นี้ไม่จำเป็นต้องใช้ก็ได้ ...แต่สารนี้ช่วยให้สบู่มีสีสันสวยงามและทำให้เกิดฟองมาก... มีจำหน่ายตามร้านขายยาหรือร้านขายของชำ มีชื่อเรียกว่า ผงกรอบ หรือผงนิ่ม ส่วนใหญ่บรรจุในถุงพลาสติก - น้ำหอม.น้ำหอมก็ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เช่นกัน แต่ถ้าใช้จะทำให้สบู่มีกลิ่นดีขึ้น ถ้าไขมันที่ทำสบู่นั้นเหม็นอับใช้น้ำมะนาวหรือน้ำมะกรูดผสมจะช่วยให้กลิ่นหอมยิ่งขึ้นและไม่เน่า - สารกันหืน การผลิตสบู่ไว้ใช้เอง ซึ่งใช้หมดในระยะเวลาสั้น จำเป็นต้องใส่สารกันหืนเมื่อต้องการเก็บไว้เป็นเวลานาน - สมุนไพร ใช้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ต่อผิวหนังตามคุณสมบัติของสมุนไพรนั้นๆ

วิธีการเติมสมุนไพรลงในสบู่ มี 2 วิธี คือ

o เติมในระหว่างกระบวนการทำสบู่ วิธีการนี้ ผู้ผลิตควรเติมสมุนไพรหลังจากกวนส่วนผสมของสบู่เสร็จเรียบร้อยแล้ว การเติมควรเติมสมุนไพรก่อนเทสบู่ลงแบบ เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับสมุนไพรประเภทสกัดเป็นผงแอลกอฮอล์ และสกัดด้วยน้ำมัน

o ทำสบู่พื้นฐานขึ้นมาก่อน แล้วนำมาหลอมใหม่ หลังจากนั้นจึงเติมสมุนไพรลงไป วิธีนี้เรียกว่า "การทำสบู่สองขั้นตอน" เหมาะสำหรับสมุนไพรที่สกัดด้วยการคั้นหรือการต้ม สัดส่วนการเติมสมุนไพรลงในสบู่

o สมุนไพรผง ควรเติมในปริมาณ 1-5% ของน้ำหนักสบู่

o สมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำต้มหรือน้ำคั้น ควรเติมในปริมาณ 10% ของน้ำหนักสบู่ และต้องลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างออกในปริมาณที่เท่ากัน

o สมุนไพรที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ ควรเติมได้ไม่เกิน 10% ของน้ำหนักสบู่ และหักลดในส่วนของน้ำที่ใช้ละลายด่างในปริมาณที่เท่ากัน เช่นเดียวกันกับสมุนไพรที่สกัดด้วยน้ำมัน - สารเพิ่มคุณภาพสบู่ ส่วนใหญ่เติมเพื่อให้ความชุ่มชื้น นั้นก็คือกลีเซอรีน ซึ่งในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะแยกเกล็ดสบู่และกลีเซอรีนไว้ ในกรณีนี้ผู้ผลิตสบู่เอง ไม่จำเป็นต้องเติม กลีเซอรีน เพราะมีอยู่แล้วในสบู่ แต่หากต้องการคุณสมบัติเพิ่มขึ้น ก็อาจเติมได้ 5-10% เครื่องมืออุปกรณ์ในการผลิต อาจใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ได้ทุกชิ้น ยกเว้นในขั้นตอนที่จะต้องสัมผัสกับโซดาไฟ ทุกขั้นตอนภาชนะที่ใช้ต้องหลีกเลี่ยงชนิดที่เป็นโลหะ หรืออลูมิเนียมเพราะอาจเกิดการกัดกร่อนเสียหายทั้งภาชนะและคุณสมบัติบางประการของสบู่ ควรจะใช้ประเภทหม้อเคลือบสแตนเลสหรือแก้วทนไฟแทน

ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นแยกได้ดังนี้

1. หม้อสแตนเลส 2 ใบ (ไว้สำหรับตุ๋นน้ำมัน)

2. เทอร์โมมิเตอร์ 2 อัน (อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส)

3. ไม้พาย 1 อัน

4. ทัพพี 1 อัน (สำหรับตักสบู่)

5. ถ้วยตวงแก้ว 1 ใบ (สำหรับผสมสารละลายโซดาไฟ)

6. ถาดใส่น้ำ 1 ใบ (สำหรับหล่อที่ใส่สารละลายโซดาไฟให้อุณหภูมิลดลง)

7. เหยือก 1 ใบ (สำหรับใส่สารสะลายโซดาไฟที่อุ่นลงแล้ว)

8. แท่งแก้ว (สำหรับกวนโซดาไฟ)

9. เตาไฟฟ้า หรือเตาแก๊ส

10. เครื่องชั่งขนาด 1-2 กิโลกรัม

11. ถุงมือ,แว่นตา,เสื้อคลุม,ที่ปิดจมูก

12. แม่พิมพ์สบู่ ใช้กล่องไม้ หรือ กระดาษแข็งรอด้วยกระดาษไข หรือพลาสติด

13. อื่น ๆ ผ้าเช็ดมือ , กระดาษทิชชู ,กระดาษหนังสือพิมพ์ใช้แล้ว, กระดาษวัดค่า pH



การตั้งสูตรสบู่

1. คัดเลือกไขมัน ที่ใช้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ไขมันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ตั้งสัดส่วน ปริมาณไขมันแต่ละชนิด

2. คัดเลือกชนิดด่าง ตามวัตถุประสงค์ เช่น ต้องการทำสบู่ก้อนใช้โซดาไฟ ทำสบู่เหลวใช้ โปรตัสเซียมไฮดรอกไซด์

3. คำนวณปริมาณด่าง ที่ใช้สูตร โดยน้ำหนักไขมันแต่ละชนิดมาคำนวณปริมาณด่างโซเดียม ไฮดรอกไซด์ที่ใช้ แล้วเอามารวมกันเป็นปริมาณรวมดังตัวอย่าง ตัวอย่างวิธีคำนวณ น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม ใช้โซดาไฟ 20.304 (16.92*120/100) กรัม น้ำมันปาล์ม 80 กรัม ใช้โซดาไฟ 10.448 (13.06*80/100) กรัม น้ำมันมะกอก 300 กรัม ใช้โซดาไฟ 37.38 (12.46*300/100) กรัม รวมไขมัน 500 กรัม รวมโซดาไฟ 68.132 กรัม

4. คำนวณปริมาณน้ำที่ใช้ จากหลักข้อกำหนดปริมาณไขมัน 100 กรัม ควรใช้น้ำ 35 - 38 กรัม ฉะนั้น จากตัวอย่างสูตร จึงควรใช้น้ำ 175 - 190 ซีซี.



วิธีการและเทคนิคการผลิตสบู่

1. เตรียมแม่พิมพ์สบู่

2. เตรียมเครื่องมือทั้งหมด

3. ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา

4. ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง

5. ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำอย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-50 องศาเซลเซียส

6. ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำหรือตุ๋น วัดอุณหภูมิประมาณ 40 - 45 องศาเซลเซียส ยกลง

7. เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง

8. เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงแบบพิมพ์

9. ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน

10. ตรวจสอบ pH บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตร ถ้ามีค่า pH อยู่ระหว่าง 8 - 10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า pH เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน เมื่อสัมผัส

11. ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะแจกจ่ายในชุมชน



ข้อควรระวังในการผลิตสบู่

1. เพื่อความปลอดภัยของผู้ผลิต ควรสวมถุงมือยาง รองเท้า กางเกงขายาว เสื้อแขนยาว ใส่ผ้าปิดปาก ปิดจมูก และแว่นตา ขณะที่ทำการผลิตสบู่

2. อุปกรณ์ทุกชนิดที่ใช้ ห้ามใช้วัสดุ อะลูมิเนียม ดีบุก สังกะสี หรือโลหะอื่น ๆ นอกจากที่แนะนำ เพราะโลหะเหล่านี้ จะทำปฏิกิริยากับโซดาไฟ เป็นอันตรายแก่ผู้ผลิตหรือผู้ใช้

3. เลือกใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม เช่น ชั่งของระหว่าง 1 - 3 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 3 กก. กรณีที่ชั่งวัตถุต่ำกว่า 1 กก. ให้ใช้เครื่องชั่งที่รับน้ำหนักได้สูงสุด 1 กก. การผลิตสบู่ก้อน ให้ชั่งส่วนผสมทั้งหมดอย่างระมัดระวัง และตรวจสอบความแม่นยำของเครื่องชั่งสม่ำเสมอ

4. การใช้เทอร์โมมิเตอร์อันเดียววัดทั้งอุณหภูมิของน้ำด่าง และไขมันนั้น ต้องล้างน้ำและเช็ดให้สะอาดทุกครั้งที่จะเปลี่ยนชนิดการวัด

5. สถานที่ผลิตควรมีอ่างน้ำ หรือถังใส่น้ำสะอาดประมาณ 10 ลิตร เพื่อใช้กรณีฉุกเฉิน เช่น น้ำด่างกระเด็นถูกผิวหนัง

6. ห้ามเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 12 ปี และสัตว์เลี้ยง เข้าใกล้บริเวณที่ผลิต รวมถึงการให้ความรู้ และทำความเข้าใจถึงอันตรายของสารเคมี แก่สมาชิกที่ร่วมผลิต และบุตรหลาน

7. ซื้อโซเดียมไฮดรอกไซด์ เฉพาะที่ใช้ หรือเหลือเก็บเล็กน้อยเท่านั้น เก็บไว้ให้ห่างไกลจากเด็กและสัตว์เลี้ยง หากสามารถใส่กุญแจจะเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง ภาชนะที่ใส่ต้องปิดให้สนิท โซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่เหลือเก็บต้องมีฉลากและวิธีการแก้ไข หรือวิธีการปฐมพยาบาลที่ภาชนะบรรจุทุกครั้ง การตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานสบู่ ตรวจสอบค่า pH โดยตัดชิ้นสบู่เล็กน้อย เป็นแผ่นบาง ๆ ประมาณ 5 กรัม นำมาละลายย้ำ 10 มล. จุ่มกระดาษวัด pH วัดประมาณ 30 วินาที จนสีกระดาษคงที่ นำกระดาษ pH มาเทียบกับสีมาตรฐาน ที่กล่อง ถ้าสีเหมือนกับช่องใด ซึ่งมีค่า pH กำกับไว้ ทำให้ทราบค่า pH ของสบู่ได้ เช่น ดูจากลักษณะ ภายนอก เช่น การเกิดฟอง การล้างน้ำออก การทดสอบฟอง ความนุ่มหลังจากการใช้



วิธีการแก้ไขเมื่อถูกน้ำด่าง

1. เมื่อน้ำด่างกระเด็นสัมผัสผิวหนัง หรือนัยน์ตา - หากกระเด็นถูกผิวหนังหรือร่างกาย ให้ราดบริเวณผิวที่สัมผัสด้วยน้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาวผสมน้ำสะอาดอย่างละเท่ากัน เพื่อทำให้โซเดียมไฮดรอกไซด์เปลี่ยนสภาพจากด่างเป็นกลาง ลดความระคายเคือง แล้วห้างด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้ง จนไม่รู้สึกคัน แสบร้อน หากยังมีอาการให้ล้างน้ำต่อไปเรื่อยๆ แล้วนำส่งโรงพยาบาล - หากกระเด็นเข้าตา ให้ล้างน้ำสะอาดหลายครั้ง ตลอดเวลาที่นำส่งโรงพยาบาล

2. หากเกิดอุบัติเหตุกลืนกินโซเดียมไฮดรอกไซด์ ให้รีบดื่มนม แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลโดด่วน การทดสอบว่าสบู่จะดีหรือไม่ สบู่ที่ดีควรจะแข็ง สีขาว สะอาด กลิ่นดีและไม่มีรส สามารถขุดเนื้อสบู่ออกเป็นแผ่นโค้ง ๆ ได้ ไม่มันหรือลื่นจนเกินไป เมื่อใช้ลิ้นแตะดูไม่หยาบหรือสาก



วิธีการแก้ไขและการปรับปรุงสบู่ให้ดีขึ้น

1. เมื่อสบู่เป็นด่างเกินกำหนด ให้นำสบู่มาขูดเป็นฝอย ละลายใหม่ ด้วยน้ำ ครึ่งเท่าที่เคยใช้เดิม นำไปตั้งบนลังถึง ไม่ต้องคน เมื่อละลายหมด เติมกรดซิตริก คนเบาๆ วัดค่า pH จนได้ค่าตามต้องการ สบู่ที่ได้จะมีลักษณะเนื้อไม่แน่น ควรนำมาทำสบู่น้ำดีกว่า

2. ถ้าส่วนผสมไม่ข้น แสดงว่า ด่างน้อยไป แก้โดยเพิ่มด่างเข้าไปอีก เล็กน้อย แล้วกวนต่อไป

3. ส่วนผสมเป็นก้อนและแยกชั้น แสดงว่า ใช้ด่างมาก ให้เติมน้ำมันหรือกรดไขมัน ลงไปทีละน้อย แล้วตีต่อไป

4. สบู่ที่ได้เปราะ ตัดไม่สวย ให้เติมกรดไขมันหรือน้ำมันอีกตาม 5-10 เปอร์เซ็นต์

5. ถ้าสบู่ที่ผ่านขั้นตอนตามเวลาที่ทำทุกช่วงแล้ว แต่ยังมีส่วนผสมบางส่วนไม่แข็งตัวหรือแยกกันอยู่ หรือไม่ดีเพราะสาเหตุใดก็ตาม อาจแก้ไขให้ดีขึ้นดังนี้ - ตัดสบู่ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ลงในหม้อที่มีน้ำมันบรรจุอยู่ 2.8 ลิตร พร้อมทั้งเทส่วนที่เป็นของเหลวที่เหลืออยู่ในแบบพิมพ์.....ลงไปด้วย - นำไปต้มนานประมาณ10นาที อาจเติมน้ำมะนาวหรือน้ำมันอื่น ๆ ที่มีกลิ่นหอมลงไปในส่วนผสมประมาณ 2 ช้อนชา.....( ถ้ายังไม่ได้เติม ) ต่อจากนั้นจึงเทส่วนผสมลงในแบบพิมพ์ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปล่อยไว้ 2 วัน แล้วดำเนินการตามที่.....กล่าวมา การทำสบู่จากน้ำด่างที่ได้จากขี้เถ้า เริ่มด้วยการทำน้ำด่างขึ้นเองจากขี้เถ้า สรุปแล้ว สบู่ก้อนและสบู่เหลวผสมสมุนไพร เป็นผลิตภัณฑ์จากน้ำมันพืชและน้ำมันสัตว์ ซึ่งหาได้ง่ายในท้องถิ่น ประเทศไทยสามารถผลิตเองได้ และหาซื้อได้ง่าย อีกทั้งยังมีสมุนไพรอีกมากมาย ในประเทศ วิธีการผลิตสบู่ก้อนและสบู่เหลวสมุนไพรก็ไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน เกษตรกร ประชาชน สามารถผลิตได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ เครื่องจักรที่มีราคาแพง เพียงแต่ต้องฝึกฝนให้มากแล้วจะได้สบู่ที่มีคุณภาพ และสามารถส่งออกมาได้ในราคาสูงเป็นการเพิ่มรายได้ ช่วยเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิต ได้อีกทางหนึ่งด้วย



ตัวอย่างสูตรสบู่ก้อน สูตรที่ 1

สบู่สูตรนี้เป็นสบู่แข็ง มีสีขาว และให้ฟองมาก สบู่สูตรนี้ยังเหมาะเป็นสบู่พื้นฐานที่จะนำไปใส่ส่วนผสมต่างๆ เพื่อทำเป็นสบู่เอนกประสงค์อื่นๆ สำหรับใช้บ้านเรือน

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 200 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 200 กรัม 3. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 60 กรัม 4. น้ำ 150 กรัม



วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

3. ผสมน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้



สูตรที่ 2 สบู่สูตรนี้เป็นสบู่สีขาวขุ่น แข็ง และให้ฟองมาก สามารถนำไปใช้เป็นสบู่ถูกตัว สบู่ใช้ในบ้านเรือน สบู่ซักผ้า สบู่ล้างจาน

ส่วนผสม 2. น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม 3. น้ำมันปาล์ม 80 กรัม 4. น้ำมันมะกอก 200 กรัม 5. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 56 กรัม 6. น้ำ 140 กรัม

วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

3. ผสมน้ำมันทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้



สูตรที่ 3 สบู่สูตรนี้มีน้ำมันมะพร้าวเปอร์เซ็นต์สูง จึงมีฟองมาก น้ำมันละหุ่งและน้ำมันรำข้าว ทำให้เพิ่มความชุ่มชื้นผิว สามารถนำไปปรับปรุงเป็นสบู่บำรุงผิว เพิ่มความชุ่มชื้น โดยการเติมสมุนไพรเพิ่มความชุ่มชื้นลงไปได้อีก

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 60 กรัม 3. น้ำมันมะกอก 80 กรัม 4. น้ำมันละหุ่ง 100 กรัม 5. น้ำมันรำข้าว 40 กรัม 6. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 55 กรัม 7. น้ำ 140 กรัม



วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

3. ผสมน้ำมันทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้



สูตรที่ 4 สบู่สูตรนี้เป็นสบู่สีขาวให้ฟองนุ่ม และฟองทนนาน เนื้อสบู่นุ่ม สบู่สูตรนี้ใช้น้ำนมแพแทนที่น้ำ

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 120 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 40 กรัม 3. น้ำมันมะกอก 240 กรัม 4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 56 กรัม 5. น้ำนมแพะ 160 กรัม



วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ผสมน้ำมันทั้งหมดเข้าด้วยกัน ใส่ภาชนะตั้งบนลังถึง หรือใช้วิธีการตุ๋น คนให้เข้ากันจนได้อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลงจากไฟ

3. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำนมแพะ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 องศาเซลเซียส

4. เทสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ (ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 3) คนให้เข้ากัน

5. คนไปเรื่อยๆ จนสบู่จับตัวเหนียวข้น สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น แล้วจึงเทลงพิมพ์ที่เตรียมไว้

6. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้



ตัวอย่างสูตรสบู่สมุนไพร สบู่ขมิ้น

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 140 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 60 กรัม 3. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 32 กรัม 4. สารสกัดขมิ้น 10 กรัม 5. น้ำ 70 กรัม



วิธีทำ

1. เตรียมแม่แบบทำสบู่ตามขนาดและรูปร่างตามที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ให้อุณหภูมิเหลือ 40 ๐c

3. เตรียมสารสกัดขมิ้น

4. ผสมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันปาล์ม แล้วผสมในน้ำมันมะกอก

5. เทสารละลายด่าง(ข้อ 2) ลงในน้ำมัน(ข้อ 4) คนสักครู่ จึงเติมสารสกัดขมิ้นลงไป สี, กลิ่นคนให้เข้ากัน

6. เมื่อเริ่มเกิดเป็นสบู่ สังเกตเนื้อข้นเหมือนนมข้น เทลงพิมพ์

7. ตั้งพิมพ์ไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากแบบเช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้



สูตรสบู่สารสกัดมังคุด

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 50 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 25 กรัม 3. น้ำมันทานตะวัน 20 กรัม 4. น้ำมันมะกอก 5 กรัม 5. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 17 กรัม 6. สารสกัดมังคุด 5 กรัม 7. น้ำ 40 กรัม



วิธีทำ

1. เตรียมแม่พิมพ์แบบสบู่ตามขนาดและรูปร่างที่ต้องการ

2. ค่อย ๆ เทโซเดียมไฮดรอกไซด์ลงในน้ำ ผสมให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ให้ อุณหภูมิเหลือ 40 - 45 องศาเซลเซียส

3. เตรียมสารสกัดมังคุด

4. สมน้ำมันมะพร้าวกับน้ำมันปาล์ม น้ำมันทานตะวันและน้ำมันมะกอก รวมกันนำไปอุ่นให้อุณหภูมิ 40 - 50 องศาเซลเซียส

5. เทสารละลายด่างลงใน (ข้อ 4) คนให้เข้ากัน เติมกลิ่นตามต้องการ

6. เมื่อเริ่มเกิดเป็นสบู่ สังเกตจากเนื้อจะข้นเหมือนนมข้น เทลงพิมพ์

7. ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 4 - 8 ชั่วโมง จนสบู่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ลองใช้นิ้วมือกดดู แล้วจึงเอาออกจากพิมพ์ เช็คค่า pH ส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 9.5 - 10 เก็บต่อไปอีกนาน 6 - 8 สัปดาห์ เช็คค่า pH ซ้ำอีกครั้ง ซึ่งควรจะอยู่ระหว่าง 8 - 9 จึงนำไปใช้



สบู่ชาเขียว

ส่วนผสม 1. น้ำมันมะพร้าว 100 กรัม 2. น้ำมันปาล์ม 100 กรัม 3. น้ำมันมะกอก 200 กรัม 4. โซเดียมไฮดรอกไซด์ 48 กรัม 5. น้ำ 100 กรัม 6. สารสกัดชาเขียว 50 กรัม (ชาเขียวใส่น้ำต้ม) 7. น้ำมันหอมระเหยหรือน้ำหอม 1 ซีซี.



วิธีทำ

1. เตรียมแบบหรือแม่พิมพ์

2. ชั่งน้ำ 100 กรัม เทใส่ภาชนะแก้ว

3. ใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ 58 กรัม ใช้แท่งแก้วคนจนด่างละลายหมด อุณหภูมิสูงมาก ทิ้งไว้ให้เย็น ณ อุณหภูมิห้อง จะได้สารสกัดใส ไม่มีสี

4. ชั่งน้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะกอกผสมในภาชนะสแตนเลส อุ่นน้ำมัน 40 องศาเซลเซียส แล้วยกลง ทิ้งให้เย็น

5. เท 2 ลงใน 3 กวนให้เข้ากัน ใส่สารสกัดชาเขียว จนส่วนผสมเริ่มข้น คล้ายครีมสลัด ใส่น้ำหอมหรือน้ำมันหอมระเหย กวนต่อ และเทลงแบบพิมพ์

6. สบู่จะจับเป็นก้อนแข็ง ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ สบู่จะจับตัวสีข้น ตรวจสารวัดความเป็นกรดเป็นด่าง pH ประมาณ 8 - 9 จึงนำไปใช้ได้





สมุนไพรที่นำมาเป็นส่วนผสมของสบู่ สมุนไพรที่นำมาเป็นส่วนผสมของสบู่มีคุณประโยชน์ต่อผิวดังต่อไปนี้

1. ให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ได้แก่ ว่านหางจระเข้ ส่วนที่ใช้ วุ้นจากใบ การนำมาใช้ ตัดเอาช่วงโคนใบ ล้างน้ำจนยางเหลืองหมด แช่ทิ้งไว้ 15 นาที ปอกเปลือกออกแล้วล้างวุ้นให้สะอาด นำไปใส่เครื่องปั่น กรองด้วยผ้าขาวบาง นำน้ำที่ได้มาใช้ กล้วย ส่วนที่ใช้ ผลสุกนำไปตากแห้ง การนำมาใช้ นำผลกล้วยสุกหั่นเป็นชิ้นบางๆ นำไปตากแดดให้แห้ง แล้วนำไปใส่เครื่องบดหรือใช้ครกตำบด ให้เป็นผงละเอียด มะละกอ ส่วนที่ใช้ ผล การนำมาใช้ นำผลสุกปอกเปลือกและปั่นให้ละเอียด จนเป็นน้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง 2 ครั้ง ส้ม ส่วนที่ใช้ น้ำคั้นจากผล การนำมาใช้ คั้นน้ำจากผล แล้วกรองให้สะอาด รำข้าว ส่วนที่ใช้ รำแห้ง การนำมาใช้ นำรำแห้งมาบดเป็นผงละเอียด

2. มีกรดบำรุงผิว ได้แก่ ส้มป่อย ส่วนที่นำมาใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบส้มป่อยล้างให้สะอาดหั่นหยาบๆ แล้วนำไปต้มในน้ำ มะขาม ส่วนที่ใช้ ฝักสุก การนำมาใช้ นำมาขามฝักสุกมากระเทาะเปลือกออก นำไปต้มกับน้ำ มะนาว มะเฟือง มะดัน มะไฟ สับปะรด ส้มแขก ส่วนที่ใช้ ผลสด การนำมาใช้ คั้นเอาน้ำจากผลสดไม้ต้องนำไปต้ม เอาไปใช้ได้เลย ใบบัวบก ส่วนที่ใช้ ใบสด การนำมาใช้ ใช้วิธีสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ขมิ้นชัน ส่วนที่ใช้ หัว การนำมาใช้ ใช้วิธีสกัดด้วยแอลกอฮอล์หรือนำมาบดเป็นผงแห้ง

3. รักษาผิวหนังผื่นคัน ฝรั่ง ส่วนที่ใช้ ใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป การนำมาใช้ นำใบมาตากให้แห้ง แล้วบดเป็นผงหรือนำใบตากแห้งแล้วมาต้ม กรองเอาแต่น้ำ ทับทิม, มังคุด ส่วนที่ใช้ เปลือก การนำมาใช้ นำเปลือกไปตากแห้งแล้วนำมาบดเป็นผง หรือนำเปลือกไปตากแล้วมาต้มกรองเอาแต่น้ำ สะระแหน่ ส่วนที่ใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบตากแห้งแล้วบดเป็นผง หรือสกัดด้วยแอลกอฮอล์ กานพลู ส่วนที่ใช้ ดอก การนำมาใช้ นำดอกไปตากแห้ง แล้วนำไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ฟ้าทลายโจร เสลดพังพอน ส่วนที่ใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบแห้งมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ เหงือกปลาหมอ สำมะงา ส่วนที่ใช้ ใบแห้ง การนำมาใช้ นำใบแห้งมาต้มกับน้ำกรอง ใบหนาด ส่วนที่ใช้ ใบ การนำมาใช้ นำใบแห้งมาสกัดด้วยแอลกอฮอล์ ว่านหางช้าง ส่วนที่ใช้ เหง้า การนำมาใช้ ล้างให้สะอาดนำมาต้มกับน้ำแล้วกรองด้วยผ้าขาวบาง

4. ขัดผิว ขิง ขมิ้น ส่วนที่ใช้ หัว เหง้า การนำมาใช้ นำเหง้าไปผึ่งให้แห้งแล้วนำมาบดเป็นผงละเอียด ไปทำดูนะคะ)